Pantone มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Pantone Matching System หรือที่เรียกกันแบบย่อว่าระบบสีแบบ PMS เป็นชุดสีที่ถูกผสมมาเพื่อให้เป็นเหมือนภาษากลางของสี ที่ให้คนทั่วโลกสื่อสารแล้วเข้าใจสีเดียวกันตรงกัน ไม่ผิดเพี้ยน เพราะเราอาจจะเห็นสีเดียวกัน ไม่เหมือนกัน หรือเรียกชื่อไปคนละแบบ
ต่อมา CMYK มันคือการทำให้เกิดสีขึ้นมาด้วยการพิมพ์ซ้อนทับกันของแต่ละจุดสี (Dot) โดยให้แต่ละจุดสีมีองศาที่แตกต่างกัน เพื่อผสมให้เกิดเป็นสีสันต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะมีการใช้สีแบบหลัก ๆ ที่เรารู้จักกันดี คือ C (Cyan ฟ้า), M (Magenta แดงอมม่วง), Y (Yellow เหลือง) และ K (Key ดำ) เรียกว่า 4 – Color Process นั่นเอง
——หลาย ๆ คนที่ทำงานด้านการออกแบบไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม หรือเป็นผู้ที่จะต้องมีเหตุให้เลือกสีมาใช้งาน เช่น ผสมสีทาบ้าน สีผ้าเพื่อมาตัดเย็บ สีบนหน้าเว็บไซต์ รวมถึงไปสึที่ใช้ในงานพิมพ์ คงจะเคยได้ยินว่าสีแพนโทนเบอร์ xxx กันมาบ้าง——–แต่ลึก ๆ แล้วก็ไม่ได้เข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร? ทำไมหลาย ๆ โรงพิมพ์ถึงมีปัญหากับสี PANTONE?
ครับ อันดับแรกสุดเลย สิ่งที่ทุกๆคน “ควร” จะต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนก็คือ สี PANTONE ไม่ใช่สี CMYK และสี CMYK ก็ไม่ใช่ PANTONE ครับ
ในกรณีนี้ “ทั้งสองอย่าง” เป็น “ระบบสีคนละระบบกัน” โดยสิ้นเชิง———-สามารถนำมันมาเทียบเคียงกันได้ แต่จะนำมาใช้ทดแทนกันตรง ๆ ไม่ได้ครับ
PANTONE (แพนโทน) จริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่?
PANTONE (แพนโทน) – เป็นหนึ่งในมาตรฐานของระบบสี ที่กำหนดโดยบริษัท Pantone ในประเทศสหรัฐอเมริกาครับ
ที่บอกว่าเป็นหนึ่งในมาตรฐาน ก็เป็นเพราะว่า มาตรฐานระบบสีที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีแค่แพนโทนเพียงมาตรฐานเดียว แต่ยังมีมาตรฐานอื่น ๆ จากประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศด้วยกัน เช่น มาตรฐาน DIC จากบริษัท DIC และมาตรฐาน TOYO จากบริษัท TOYO จากประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน HKS จากประเทศเยอรมัน——-มาตรฐานของสีแต่ละบริษัทนั้นไม่ได้ใช้งานแค่หมึกพิมพ์เพื่องานพิมพ์เพียงอย่างเดียว แต่จะครอบคลุมไปถึงสีพ่นรถยนต์ สีทาบ้าน หมึกย้อมผ้า สีที่ใช้แวดวงแฟชั่น และการตกแต่งบ้านด้วย ซึ่งระบบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลและใช้กันถูกใช้กันมากที่สุดเลยทีเดียวครับ
ซึ่งสิ่งที่น่าจะคุ้นหูคนไทยมากที่สุดก็คือระบบ PANTONE (แพนโทน) ของ USA นั่นเองครับ ตัวระบบสีของทางบริษัท PANTONE จะแบ่งออกเป็น 2 หมวดด้วยกัน คือหมวด PMS (PANTONE Matching System) ซึ่งเป็นระบบสีสำหรับงานพิมพ์ งานแพ็คเก็จจิ้ง ดิจิตอลดีไซน์ที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์และมือถือ และหมวด FHI (Fashion Home & Interiors) เป็นระบบสีที่ใช้กับ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง ระบบพ่นสีผ่าน Airbrush ระบบพ่นสีสำหรับรถยนต์ ฯลฯ
สาเหตุที่ต้องมีระบบสีขึ้นมาก็เพราะว่า เพื่อให้การสื่อสารระหว่างดีไซเนอร์ นักออกแบบ นักตกแต่ง โรงพิมพ์ ฯลฯ กับลูกค้า มีจุดที่ใช้อ้างอิงได้ว่ากำลังพูดถึงสีอะไรกันแน่ เพราะลำพังบอกว่าอยากได้สีเขียว แต่เฉพาะเขียวก็มีเป็นร้อยเป็นพันเฉดด้วยกัน ชื่อสีที่คิดกันขึ้นมาแต่ละชื่อนั้นก็สุดจะพิสดารและคาดเดาได้ลำบาก เขียวหัวเป็ด เหลืองมะนาว ขาวดิจิตอล ดำเมี่ยม เหลืองอำพัน แดงเลือดนก ฯลฯ ดังนั้น บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสี ก็เลยพยายามสร้างมาตรฐานของตัวเองขึ้นมา เพื่อที่จะระบุได้อย่างแน่ชัดว่า สีนี้คือสีอะไร ด้วยการสร้าง Code เป็นตัวเลขแทนที่จะเป็นชื่อเรียก เช่น เขียวหัวเป็ด อาจจะหมายถึงสี PANTONE เบอร์ P126–8C เป็นต้น รวมถึงอัตราส่วนในการผสมสีด้วยว่า สี P126–8C นี้ จะต้องผสมอย่างไรถึงจะได้สีนี้ออกมานั่นเอง
CMYK คือระบบสีที่นิยมใช้ในงานพิมพ์
– ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นบทความ ระบบสีนี้จะประกอบด้วยแม่สี 4 สี ได้แก่ cyan(ฟ้าอมเขียว), magenta(แดงอมม่วง), yellow(เหลือง), และสีดำ key (black) ที่จะผสมกันออกมาเป็นสีต่างๆ และเมื่อส่องขยายดูงานที่พิมพ์ด้วยระบบ CMYK จะพบเป็นจุดสีเล็กๆที่มาผสมกัน แตกต่างจาก Spot Color ของ PANTONE ที่จะเป็นสีนั้นๆเลย 100% ไม่ได้เกิดจากการผสมสีเหมือน CMYK ครับ ด้วยเหตุนี้สีจาก Spot Color จึงจะมีความชัดเจนและให้สีที่อิ่มกว่า
บางคนอาจเข้าใจผิดว่าสีของ Pantone นั้นเกิดจากการผสมของสี CMYK จึงทำให้เกิดสีพิเศษแต่ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากการผสมของสีอื่นที่มีเฉดที่แตกต่างกันออกไปเข้าด้วยกัน ไม่ใช่เพียงแต่ CMYK เท่านั้นเพราะว่าสีของ Pantone นั้นถูกทำขึ้นมาเพื่อทดแทนสีที่ CMYK ไม่สามารถพิมพ์ได้ โดยสี Pantone นั้นจะถูกระบุเป็นรหัส เช่น Pantone 363c นั่นเองครับ
.
.
.
.
ต้องการบริการผสมสี สั่งผลิตภัณฑ์สีพ่น หรือ ปรึกษาสอบถาม ติดต่อได้ที่
Tel : 0888966156, 027333588-9
LINE ID : n.happylandpaint
Email : n.happylandpaint@gmail.com
ข้อมูลเพิ่มเติม NHP สีพ่นสีผสมครบวงจร, The Code Color for designer
“น.แฮปปี้เเลนด์ เพ้นท์ สีสั่งได้”